ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เจ้าของผลงาน : นางเจิมขวัญ อิสสระพงศ์
อาทิตย์ ที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ.2566
เข้าชม : 704    จำนวนการดาวน์โหลด : 78 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media)รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ 1) ศึกษาบริบทกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2565 จำนวน 1 ห้อง ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 12 แผน 3) แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ 4) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test Dependent
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ผลการศึกษาด้านสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาด้านความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
          2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ที่มีชื่อว่า “POPPPE Model” ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม (Preparation : P)      2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective: O) 3) การวางแผน (Planning: P) 4) การลงมือปฏิบัติ (Project Action: P) 5) การนำเสนอผล (Presentation: P) และ 6) การประเมินผล (Evaluation: E)
          3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
              3.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                         มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.14 /85.75 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
              3.2 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
              3.3 คะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน              สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
              3.4 ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้                  สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่านักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
          4.  การประเมินและรับรองรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบและมีความเห็นสอดคล้องกันว่าใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย                          เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป