ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการ (2) ด้านหลักสูตร (3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (4) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดี ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด ที่สร้างขึ้นมี 7 องค์ประกอบได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การบริหารจัดการ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ การจัดโครงการเสริมพิเศษ ครูและบุคลากรทางการศึกษา บรรยากาศและสภาพแวดล้อม (4) พฤติกรรมบ่งชี้คนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ เรียนดี คุณธรรมดี และทักษะชีวิตดี (5) กระบวนการบริหารการสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (BTH Model) B = พฤติกรรมที่บ่งชี้คนดีที่ต้องการพัฒนา (Behavior) T = การทำงานเป็นทีม (Team) H = การสนับสนุนและเกื้อกูล (6) การประเมินผล
(7) เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่าผลการประเมินพฤติกรรมคนดี 3 ประการของผู้เรียน ได้แก่ เรียนดี คุณธรรมดี และทักษะชีวิตดี ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมหนองเขียด หลังใช้รูปแบบมีผลการประเมินในระดับดีสูงกว่าผลการประเมินก่อนใช้รูปแบบ และ 4) ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครูและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก