ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล |
|
|
|
|
|
|
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน
เจ้าของผลงาน : นายดำรง อ่อนอภัย
พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ.2566
เข้าชม : 1528 จำนวนการดาวน์โหลด : 194 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการ ในรูปแบบ การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ด าเนินการวิจัยและ พัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนโนนหันวิทยายน จ านวน 7 คน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ จ านวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ านวน 15 คน คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองครู และศิษย์เก่าโรงเรียนโนนหันวิทยายน จ านวน 20 คน คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนโนนหันวิทยายน จ านวน 30 คน รวม 86 คน ครูผู้สอนโรงเรียนโนนหันวิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จ านวน 57 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหาร จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหัน วิทยายน (ร่าง) กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนโครงงานโรงเรียนสีชมพูศึกษา จ านวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนโรงเรียนสีชมพูศึกษา ในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงาน ท าการสอน จ านวน 100 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้มาโดยวิธีการ เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การน ารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างในการ วิจัยคือ ครูผู้สอนโครงงาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จ านวน 32 คน นักเรียนในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงาน ท าการสอน จ านวน 466 คน ระยะที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือครูผู้สอนโครงงาน จ านวน 32 คน นักเรียนในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงานท าการสอน จ านวน 466 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เนื้อหา 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถาม 5) แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม 6) แบบประเมินโครงงาน 7) แบบประเมิน ทักษะการคิดแก้ปัญหา 8) แบบประเมินความพึงพอใจของครู 9) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ̅) ค่าเฉลี่ยร้อยละ ( ̅) %) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) น าเสนอข้อมูลของการวิจัย ในลักษณะพรรณนาความ และการพรรณนาความประกอบตาราง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้ โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ด้วยวิธีการเชิง ปริมาณ พบว่า มีสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการ คิดแก้ปัญหาของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (µ = 2.09, σ = 0.22) เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงล าดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ าสุด พบว่า มีสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด (µ = 2.15, σ = 0.24) รองลงมาคือ ด้านนโยบายของสถานศึกษา (µ = 2.11, σ = 0.17) ด้านบรรยากาศของสถานศึกษา (µ = 2.06, σ = 0.21) และ ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีน้อยที่สุด (µ = 2.02, σ = 0.25) มีระดับ ความต้องการในการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหา ของ นักเรียนภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (µ = 4.71 , σ = 0.18) เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านเรียงล าดับ จากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ าสุด พบว่า มีความต้องการในการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อ เสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ด้านนโยบายของสถานศึกษามากที่สุด (µ = 4.74, σ = 0.16) รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศขององค์กร (µ = 4.73, σ = 0.15) ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี(µ = 4.70, σ = 0.21) และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้น้อยที่สุด (µ = 4.66, σ = 0.20) 2. ผลการพัฒนาได้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ซึ่งผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นเรียกว่า MEKRU Model มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 Mindset : M ปรับความคิด ขั้นที่ 2 Education yourself by project : E เรียนรู้ผ่านโครงงาน ขั้นที่ 3 Knowledge Sharing : K แลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 4 Reflective thinking : R น าสู่การสะท้อนคิด ขั้นที่ 5 Understanding the problem solving skill : U เข้าใจทักษะ การคิดแก้ปัญหา 3. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหา โรงเรียนโนนหันวิทยายน โดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน พบว่า รูปแบบ การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียน โนนหันวิทยายน มีประสิทธิภาพ และ ผลจากการน ารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ไปใช้ พบว่า ภายหลังการใช้ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อ เสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการ เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมีร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ทักษะด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของ ครูผู้สอน หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญ ทางวิชาชีพ ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน อยู่ในระดับสูงมาก ( ̅ = 12.66 ̅% = 84.38) สูงกว่าก่อนการอบรม เชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ด้านการบริหาร จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาซึ่งอยู่ในระดับต่ า ( ̅ = 6.09 , ̅% = 40.63) 4. ความพึงพอใจของครูผู้สอนโครงงานที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด 5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนโครงงานตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
|
|
|
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
| | |
|
|
|