บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางอาทิยา ขาวประภา
หน่วยงาน : โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหา และความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ รูปแบบผังกราฟิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธี การสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิกความสามารถในการคิดแก้ปัญหาจำนวน 11 แผน เวลาเรียน 22 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 20 คะแนน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับจำนวน 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พบว่า นโยบายการศึกษาและแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดนโยบายที่สำคัญ และเกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาของครูไว้ว่า ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเลือกใช้ความรู้ และเทคโนโลยี ได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพ มุ่งพัฒนาคนไทยให้มนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคน ก้าวทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันเทคโนโลยี 8soCfP12Ph19mi914zQaZz2KsGGtcANVhVVfKAnmVRqM พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตน สังคม และประเทศชาติได้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ได้เต็มศักยภาพ และมุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถ ในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต จากการสัมภาษณ์ครูและนักเรียนพบว่า วิธีการเรียนให้เกิดความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาในวิชาเคมี ให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์แบบร่วมมือกันระหว่างเพื่อนและผู้สอน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหากันเองในกลุ่มหรือชั้นเรียน ทำให้นักเรียนได้นำความรู้เดิมมาใช้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นนักเรียนให้คิดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คอยช่วยเหลือ ชี้แนะและช่วยตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้นักเรียนสร้างแบบความสัมพันธ์ให้เป็นองค์ความรู้ ของตนเอง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า Engagement; Exploration; Explanation; Elaboration; Evaluation; Graphic Organizer; Model (5EGO Model) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ (Engagement) 2) ขั้นการค้นหา/ระดมสมอง (Exploration) 3) ขั้นนำเสนอความคิดด้วยแผนภาพความคิด (Explanation & Graphic Organizer) 4) ขั้นจัดลำดับความคิด ด้วยแผนภาพความคิด/ขยายความ (Elaboration & Graphic Organizer) และ 5) ขั้นพัฒนาผล ที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยแผนภาพความคิด (Evaluation & Graphic Organizer) รูปแบบการจัด การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.50/84.69 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
|