ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล |
|
|
|
|
|
|
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
เจ้าของผลงาน : นางเรณู นันททิพรักษ์
ศุกร์์ ที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 3672 จำนวนการดาวน์โหลด : 498 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ผู้ศึกษา นางเรณู นันททิพรักษ์
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่ทำการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ คือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 12 คน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสมาคมครูผู้ปกครองและศิษย์เก่าโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 35 คน คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 30 คน รวม 110 คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยด้วยวิธีการเชิงปริมาณ คือครูผู้สอนโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 132 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา(ร่าง)รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ครูผู้สอนโครงงานโรงเรียนสีชมพูศึกษา จํานวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนโรงเรียนสีชมพูศึกษา ในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงานทำการสอน จำนวน 900 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การนํารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือครูผู้สอนโครงงานโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 48 คน นักเรียนโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงานทำการสอน จำนวน 1,920 คน ระยะที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือครูผู้สอนโครงงาน จำนวน 48 คน นักเรียนในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนโครงงานทำการสอน จำนวน 1,920 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถาม 3) แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผล 4) แบบทดสอบ 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินสมรรถภาพ 6) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ 7) แบบประเมินโครงงาน 8) แบบประเมินทักษะพลเมืองดิจิทัล 9) แบบสอบถามความพึงพอใจ
10) แบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเฉลี่ยร้อยละ ( %) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลของการวิจัย ในลักษณะพรรณนาความ และการพรรณนาความประกอบตาราง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยวิธี เชิงคุณภาพ พบว่าสภาพจริงที่ปรากฏด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม มีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล ยังขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะ พลเมืองดิจิทัล ด้วยวิธีเชิงปริมาณพบว่า สภาพปัจจุบัน รายด้าน เรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดจนถึงค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านบรรยากาศขององค์กร (µ = 2.33, σ = 0.68) ด้านนโยบายของสถานศึกษา (µ = 2.33, σ = 0.66) ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี (µ = 2.29, σ = 0.65) และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล (µ = 2.06, σ = 0.27) และมีความต้องการรายด้านเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยความต้องการสูงสุดจนถึงค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี (µ = 4.73, σ = 0.20) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (µ = 4.66, σ = 0.32) ด้านนโยบายของสถานศึกษา (µ = 4.66, σ = 0.40) และ ด้านบรรยากาศขององค์กร (µ = 4.63, σ = 0.33)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัลโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ที่ผูวิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ไดแก องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 (Survey and Need Analysis : S) สำรวจวิเคราะห์ความต้องการ ขั้นที่ 2 (Method Integrating to Content : M) วิธีบูรณาการเนื้อหาสาระ ขั้นที่ 3 (Activity Creating to Experiential Learning : A) กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (MINE) 4 ขั้น ดังนี้ (1) (Mindset : M) ขั้นปรับเปลี่ยนวิธีคิด (2) (Inspiration : I) ขั้นพิชิตแรงบันดาลใจ (3) (Nature of Learning : N) ขั้นใส่ใจการเรียนรู้ (4) (Empowerment : E) ขั้นนำไปสู่การเสริมสร้างพลังความสามารถ ขั้นที่ 4 (Reflection of Learning Core : R) สะท้อนแก่นการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 (Technology Evaluation : T) นำสู่การประเมินผลด้วยเทคโนโลยี องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 5 ปจจัยความสำเร็จ และ องค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขในการนํารูปแบบไปใช้ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเงื่อนไขการนำรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ไปใช้เพื่อให้สามารถนำสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทั้งด้านผู้ปฏิบัติ และด้านบริบทที่เกี่ยวข้อง
ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพของความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของ(ร่าง)รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นไปได้ ( = 4.49 , S.D. = 0.36) ด้านความสอดคล้อง ( = 4.43 , S.D. = 0.30) และด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฏี ( = 4.35 , S.D. = 0.24)
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยและร้อยละของผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัลโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณาผลการทดสอบก่อนอบรมเชิงปฏิบัติการและหลังอบรม เชิงปฏิบัติการ พบว่า ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนโครงงานมีความรู้ในเรื่องที่อบรมอยู่ในระดับต่ำ ( =8.44 , % = 42.19) หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนโครงงานมีความรู้ในเรื่องที่อบรมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 17.10 , % = 85.52)
3.2 ผลการประเมินสมรรถภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด พบว่า การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยแต่ละองค์ประกอบมีความชัดเจนเหมาะสมและสัมพันธ์กัน ( = 3.71 , S.D. = 0.46) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ( = 3.58 , S.D. = 0.61) มีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ ( = 3.56 , S.D. = 0.62) ประเมินและสรุปผลการเรียนรู้ ( = 3.50 , S.D. = 0.72)
3.3 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม พบว่า ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการเขียนรายงาน ( =4.67 , S.D. = 0.26) ด้านการจัดเตรียมการจัดการเรียนรู้ ( =4.60 , S.D. = 0.39) และด้านสาระสำคัญ ( =4.58 , S.D. = 0.30) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ( =4.13 , S.D. = 0.64) ด้านการนำเสนอผลงาน ( =4.15 , S.D. = 0.31) และ ด้านสาระการเรียนรู้/เนื้อหา ( =4.24 , S.D. = 0.41)
3.4 ผลการประเมินโครงงานการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ( =4.65 , S.D. = 0.34) ด้านประโยชน์ของโครงงาน ( =4.62 , S.D. = 0.40) ด้านคุณลักษณะของผู้ทำโครงงาน ( =4.52 , S.D. = 0.40)
ด้านเนื้อหาของโครงงาน ( =4.51 , S.D. = 0.26) ด้านการพบที่ปรึกษา ( =4.50 , S.D. = 0.67)
3.5 ผลการประเมินทักษะพลเมืองดิจิทัล รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด พบว่า ด้านทักษะการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร ( =2.63 , S.D. = 0.32) ด้านทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง ( = 2.63 , S.D. = 0.32) ด้านทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ( =2.55 , S.D. = 0.24) ด้านทักษะการป้องกันและเคารพตนเอง ( = 2.55 , S.D. = 0.24)
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนโครงงานที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด พบว่า ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ ( = 4.58 , S.D. = 0.30) ด้านผู้เกี่ยวข้องกับการนิเทศการสอน ( = 4.58 , S.D. = 0.32) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ MINE ( = 4.43 , S.D. = 0.15) ด้านผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ ( = 4.41 , S.D. = 0.29) ด้านการสังเกตการณ์ ( = 4.27 , S.D. = 0.39)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการสอนของครูผู้สอนโครงงานตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพล พิทยาคม โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ ( = 4.65 , S.D. = 0.34) ด้านการฝึกทักษะปฏิบัติ ( = 4.57 , S.D. = 0.33) ด้านความรู้ความเข้าใจ ( = 4.50 , S.D. = 0.46)
4.3 ผลการประเมินแบบสอบถามความคิดเห็นของครูหลังจากทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคมโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่า กระบวนการเรียนรูตามองคประกอบของรูปแบบ SMART Model มีความเหมาะสม ( = 4.44 , S.D. = 0.31) และ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model ( = 4.35 , S.D. = 0.24)
4.4 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ SMART Model เพื่อเสริมสร้างทักษะพลเมืองดิจิทัล โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ( = 4.69 , S.D. = 0.25) ด้านความเหมาะสม ( = 4.63 , S.D. = 0.27) ด้านความสอดคล้อง ( = 4.63 , S.D. = 0.39) และด้านความเป็นไปได้ ( = 4.60 , S.D. = 0.35)
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|