โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานวิจัยการศึกษา
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เจ้าของผลงาน : นางเจิมขวัญ อิสสระพงศ์
อาทิตย์ ที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ.2566
เข้าชม : 342 จำนวนการดาวน์โหลด : 42 ครั้ง
บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media)รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ 1) ศึกษาบริบทกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 12 แผน 3) แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ 4) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test Dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาด้านสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาด้านความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ที่มีชื่อว่า “POPPPE Model” ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม (Preparation : P) 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective: O) 3) การวางแผน (Planning: P) 4) การลงมือปฏิบัติ (Project Action: P) 5) การนำเสนอผล (Presentation: P) และ 6) การประเมินผล (Evaluation: E)
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1 /E2 เท่ากับ 86.14 /85.75 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 คะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้ สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่านักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4. การประเมินและรับรองรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบและมีความเห็นสอดคล้องกันว่าใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ)
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป