นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายก อบจ.ขอนแก่น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความจำเป็น สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ศึกษาผลการประเมินรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจำนวน 10 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐาน ความจำเป็น สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธี อภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/80.75 3. ผลการใช้รูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 3.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อที่เรียนด้วยรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบรูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก