ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เจ้าของผลงาน : นางอาทิยา ขาวประภา
ศุกร์์ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1578    จำนวนการดาวน์โหลด : 248 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 3 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า       ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางอาทิยา ขาวประภา
หน่วยงาน : โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)       เรื่อง เคมีไฟฟ้า 3.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน       ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร       การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง เคมีไฟฟ้า และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 5 ต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)          เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ขั้นตอนที่ 2         การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร     การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)  ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัด  การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2            ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 5 ชนิด ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 9 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ    ของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ค่าร้อยละ ค่า E1/ E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 การทดสอบค่าที (t-test dependent samples) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้   แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.1 สภาพการจัดกิจกรรมการสอนเคมีของครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าการสอนโดยยึดเนื้อหาเป็นสำคัญและพยายามสอน       ให้จบเนื้อหา ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ เปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ไขปัญหาที่คล้ายคลึงอยู่ในระดับมาก ส่วนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา             อย่างหลากหลาย ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
               1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวม มีปัญหามาก 3 อันดับมากที่สุด คือ 1) ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 2) ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ครูขาด       การพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก 3 อันดับมากที่สุด คือ 1) นักเรียนมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เคมีต่ำ 2) นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ไม่กล้าแสดงออก และ 3) นักเรียนขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาระเคมี
               1.3 ความต้องการของครูในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากความถี่ที่ครูเลือก 3 อันดับมากที่สุด คือ       1) ต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาเคมีที่ทันสมัย 2) ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ในหัวข้อใหม่ ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และ 3) ต้องการสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอ
1.4 ข้อเสนอแนะของครูผู้สอนในการแก้ปัญหาจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี              3 อันดับแรก คือ 1) ครูควรใช้นวัตกรรมการสอนทั้งสื่อและเทคนิคการสอนประกอบการสอน เพื่อให้นักเรียนสนใจ เข้าใจในหน่วยการเรียน สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น 2) ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่อง เทคนิคการสอน วิธีการและเทคนิคการจัดกิจกรรม        เสริมหลักสูตร อบรมวิธีการสอนแบบต่างๆ เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อน และสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่ง ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ      การสร้างเครื่องมือวัดผลการสร้างข้อสอบมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อสอบ การจัดทำคลังข้อสอบ       วิธีปฏิบัติในการประเมินผล และ 3) จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง การใช้และผลิตสื่อการเรียนการสอนวิชาเคมี วิธีเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับวิชาการใช้สื่อที่หาง่ายในท้องถิ่น
1.5 ปัญหาในการเรียนวิชาเคมีของนักเรียน 3 อันดับแรก คือ ปัญหาในการเรียน       วิชาเคมี ของนักเรียน 3 อันดับแรก คือ 1) ครูสอนจริงจัง ไม่ใช้สื่อในการสอน ให้ทำแบบฝึกหัดส่ง    ทุกครั้ง ทำให้เครียด ข้อสอบยากเกินไป 2) ครูเข้มงวดทำให้บรรยากาศในการเรียนเครียด ไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เข้าใจ และ 3) ครูสอนเร็ว ไม่น่าสนใจ ตามไม่ทัน เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่อยากเรียน
1.6 ความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาเคมีอย่างมีความสุข 3 อันดับแรก คือ    1) ครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ 2) ครูควรสร้างบรรยากาศ       ในการเรียนให้สนุกสนาน เช่น ร้องเพลง เล่นเกม และ 3) ควรมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อมากกว่านี้
2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร         การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.15 และผลการประเมินประสิทธิภาพ   ด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 75/75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับ        การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า หลังเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัด        การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป