ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนา

เจ้าของผลงาน : นางณกันยา ไวคำ
พุธ ที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
เข้าชม : 1449    จำนวนการดาวน์โหลด : 286 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนา  ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)  ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือระยะที่ 1 วางแผน (Plan)  ดำเนินการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการส่งเสริมความสามารถทางดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้วยการสอบถามสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวัง กลุ่มเป้าหมายการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 40 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ จำนวน 339 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลการสอบวัดผลทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ต่ำอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อคำถามอ้างอิงตัวชี้วัดการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE : International Society for Technology in Education) ระยะที่ 2 ปฏิบัติตามแผน (Action) โดยนำกระบวนการนิเทศแบบร่วมมือพัฒนา ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นวางแผน (Planning)  และขั้นตอนที่ 2 คือ นำกิจกรรมเสริมสร้างความรู้มาใช้ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวน 14 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รายวิชาละ 1 คน รวม 42 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบก่อนและหลังการรับความรู้ ระยะที่ 3 สังเกตการณ์ (Observe) นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาในขั้นที่ 3 คือ ขั้นปฏิบัติการ (Implementing) มาใช้กับกลุ่มเป้าหมายดำเนินการในระดับสถานศึกษา ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ และครูกลุ่มเป้าหมาย รวมกลุ่มเป้าหมายในขั้นนี้ โรงเรียนละ 7-9 คน ร่วมกันดำเนินการในแต่ละโรงเรียนด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การประชุมก่อนการสังเกตชั้นเรียน (Pre- observation) กิจกรรมที่ 2 การสังเกตชั้นเรียน (Classroom Observation) c]tกิจกรรมที่ 3 การประชุมสะท้อนผลหลังการสังเกตชั้นเรียน (Reflection)  เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสะท้อนผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้  ระยะที่ 4 สะท้อนการปฏิบัติ (Reflect) เป็นขั้นที่นำกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาในขั้นที่ 4 คือ ขั้นประเมินผล (Evaluating) มาดำเนินการ กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การสะท้อนการปฏิบัติในภาพรวม  โดยกำหนดให้ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ส่งบุคลากรเข้าร่วมประชุมสะท้อนการปฏิบัติ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน (ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ) หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ครูผู้รับการนิเทศทุกคน  และศึกษานิเทศก์ทุกคน (รวมผู้วิจัย) กิจกรรมที่ 2 การประเมินผล ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต 1 คน ศึกษานิเทศก์ระดับเชี่ยวชาญ 2 คน และผู้บริหารสถานศึกษาระดับเชี่ยวชาญ 2 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการระดมสมอง และแบบประเมินตนเองของครูกลุ่มเป้าหมายหลังได้รับการนิเทศ และประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการนิเทศแบบร่วมพัฒนา  
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สรุปได้ว่าสภาพการปฏิบัติที่แสดงถึงพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.78) และมีความต้องการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลในภาพรวม ในระดับมากที่สุด ( = 4.63)
          2. การสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สังเคราะห์ขั้นตอนร่วมกับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ปฏิบัติการจำนวน 2 วงรอบ ผลที่เกิดขึ้นแต่ละวงรอบปรากฏดังนี้
                   วงรอบที่ 1 พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความรู้ความเข้าใจหลังรับการอบรมพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล และการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เห็นได้จาก คะแนนสอบหลังการอบรมที่สูงขึ้น เมื่อนำกลับไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนครูผู้สอนส่วนใหญ่กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ยังกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และเลือกวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การวัดผลไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้นิเทศได้ให้คำชี้แนะ และให้ครูนำไปปรับก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ ผลการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของทีมผู้นิเทศ ครั้งที่ 1 พบว่า พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูที่แสดงออกว่าเป็นนักออกแบบ และเป็นผู้อำนวยความสะดวก อยู่ในระดับน้อย        ส่วนใหญ่ครูยังไม่คุ้นชินกับการเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่ยังเป็นผู้บอกความรู้ และไม่อดทนรอคอยคำตอบของผู้เรียน และส่วนใหญ่ครูยังไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชั่น    ต่าง ๆ ที่ได้จากการอบรมอย่างคล่องแคล่ว และมีสภาพปัญหาความไม่สะดวกของระบบอินเทอร์เน็ตของสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นทีมผู้นิเทศได้รับทราบสภาพปัญหาและจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป
                   วงรอบที่ 2 หลังจากทีมศึกษานิเทศก์จัดประชุมปฏิบัติการผ่าน Zoom Application เพื่อฝึกใช้เครื่องมือดิจิทัลและเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม และ ระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนได้รับการแก้ไข ครูผู้สอนได้นำความรู้และประสบการณ์กลับไปจัดการเรียนรู้ และผลจากการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ในครั้งที่ 2 พบว่า พฤติกรรมทั้ง 7 ด้านของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนมีความโดดเด่นชัดเจน ผลการระดมสมองของผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปว่าการใช้กระบวน การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาครูผู้สอนร่วมกับการนิเทศแบบร่วมพัฒนา สามารถช่วยให้พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนมีพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้น มีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนไปในทางที่เป็นที่น่าพอใจ  ผลการประเมินตนเองของครูผู้สอนด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.53) และความพึงพอใจของครูกลุ่มเป้าหมายต่อกิจกรรมการนิเทศแบบร่วมพัฒนาอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.68)  

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567