ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียดการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิช

เจ้าของผลงาน : นางสาวอรุณศรี ยิ่งยืน
พุธ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 1975    จำนวนการดาวน์โหลด : 312 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 20 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                   ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมบริบทรอบตัว และเป็นยุคที่ระบบการจัดการศึกษาต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ (Dejakupt&Yindeesuk, 2014) ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาเพราะครูผู้สอนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมที่จะออกไปสู่สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง หน้าที่ของครูผู้สอนในศตวรรษใหม่จะไม่ใช่เพียงการสอนหากแต่ต้องเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญครูผู้สอนควรออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนมากกว่าการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากภายในใจและสมองของตนเอง (Panich, 2012) ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งในด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของครูผู้สอนให้เป็นมืออาชีพ (Wongmeejong&Naipat, 2017) แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนโดยส่วนใหญ่มักเป็นการจัดอบรมระยะสั้นและเน้นเฉพาะสมรรถนะด้านความรู้ในการจัดการเรียนการสอน หลังจากนั้นจะให้ครูผู้สอนดำเนินปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนและดำเนินการสอนเองโดยลำพัง (Dejakupt&Yindeesuk, 2017) ซึ่งอาจทำให้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
                   การพัฒนาพัฒนาครูผู้สอนที่ประสบผลสำเร็จในหลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา วิชาชีพที่มุ่งให้ครู ผู้บริหาร นักการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือร่วมพลังกันพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในรูปแบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยสมาชิกในชุมชนวิชาชีพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และภารกิจการพัฒนาร่วมกัน สมาชิกรวมพลังเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ลงมือปฏิบัติบนฐานการทำงานจริงที่อิงพื้นที่การปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาในรูปแบบอื่นที่ได้จากนอกห้องเรียน ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจาการพัฒนาตามแบบ “ชุมชมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางบวกแก่ครู ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็น “คนคุณภาพ” ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และคุณภาพของประเทศในที่สุด นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่คนในสถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานต่างร่วมมือเรียนรู้ในการวิพากษ์วิจารณ์ ร่วมสะท้อนคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันมากขึ้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คุรุสภามีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพให้แก่เครือข่ายฯ ที่มีการรวมตัวกันทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ที่แท้จริงและต่อเนื่อง จะทำให้เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน การบริหาร และการปฏิรูปสถานศึกษาที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และความท้าทายตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้สำเร็จ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” จึงเป็นชุมชนการพัฒนาที่สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมตัวกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง แก่วิชาชีพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน รวมทั้งสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่สมาชิกให้สมกับความเป็น “ครูมืออาชีพ” อย่างแท้จริง
                   จากผลการประเมินการทดสอบนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) พบว่า ผลการประเมิน PISA         ของประเทศไทยต่ำกว่ามาตรฐาน และมีแนวโน้มลดลง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2558) นอกจากนี้ยังพบปัญหาครูขากเทคนิควิธีสอนและทักษะด้านเทคโนโลยี การพัฒนาด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์และรู้จักตั้งคำถาม จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ผลักดันหลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนำมาพัฒนาครู ใช้เครือข่ายในสถานศึกษาและชุมชน เรียนรู้ด้วยตนเองและจากเพื่อนครู นำไปสู่การร่วมกันประเมินและแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ จะเป็น เครื่องมือในการพัฒนาครูได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การพัฒนาครูต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้เรียน (ณรงค์ ขุ้มทอง, 2560)
                   จากการศึกษางานวิจัยของ ณัฐิกา นครสูงเนิน (2556) ดลนภา ดลศิริ (2556) ศยามน อินสะอาด(2556) ) และจุลลี่ ศรีษะโคตร (2557) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้        ของสถานศึกษา พบว่า การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและการสนับสนุนของเขต ด้านบรรยากาศขององค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านโครงสร้างสถานศึกษา ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหาร ด้านพันธกิจและวิสัยทัศน์ ด้านการจูงใจ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านประสิทธิภาพการสอนของครู เป็นต้น ซึ่งการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา    จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น นั่นคือ ประสิทธิภาพการสอนของครู แต่จากการวิเคราะห์ผลคะแนนทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2560 - 2562 ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า มีผลการทดสอบต่ำลง ถึงแม้ว่าจะมีบางรายวิชาที่มีพัฒนาการดีขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านประสิทธิภาพการสอนของครู ดังนั้นหากสถานศึกษาสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูได้ จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
 
วัตถุประสงค์
                   เพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด
 
 
คำถามในการวิจัย
                   การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียดมีลักษณะและผลการพัฒนาอย่างไร
 
วิธีดำเนินการวิจัย
                   ผู้วิจัยได้นำแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและนำกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เนื่องจากการดำเนินการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ปฏิบัติจริงในบริบทของแต่ละชั้นเรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ความรู้สามารถเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นร่วมใจที่จะปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกัน โดยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นวางแผนขั้นลงมือปฏิบัติและสังเกตผลการปฏิบัติ ขั้นสะท้อนผล และขั้นตอนการปรับปรุงใหม่ (Phuangsomjit, 2017; Dejakupt&Yindeesuk, 2017) นอกจากนี้ยังนำกระบวนการจัดการความรู้ มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาบทเรียนต่างกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะประสบการณ์ในการดำเนินการตามกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน เช่น การวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET)การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยมีแนวทางดังนี้
                       1.1  การเลือกหัวข้อในการทำแผนการเรียนรู้ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเลือกเรื่องที่ยากหรือเป็นเรื่องที่สำคัญของรายวิชา เพื่อสมาชิกทีมของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จะได้ร่วมมือร่วมแรงกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน
                       1.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในทุกด้านและเน้นปัญหาการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมคิด และสมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
                       1.3  ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยนำผลการประเมินจากผู้เรียน/ผู้สอนในปีการศึกษาที่ผ่านมาที่มีรายละเอียดในหัวข้อที่จะร่วมพัฒนาด้วยกันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ ในหัวข้อที่มีปัญหาหรือต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะประเมินหลังการสอนในหัวข้อนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเรียนรู้จากทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน เพื่อวางแผนการปรับปรุงการสอนในครั้งต่อไป
                   2.       ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)เป็นขั้นที่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยสมาชิกทีม อย่างน้อย 5คน ได้แก่ ผู้วางแผนการสอน เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหาร ร่วมกันวางแผนและให้การชี้แนะและให้คำปรึกษาในการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผนเรื่องการจัดการเรียน เช่น การจัดโต๊ะเรียนแบบกลุ่ม เรียนร่วมมือร่วมพลัง และการเตรียมสื่อการเรียนรู้ส่วนผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพโดยการอำนวยการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้ครบทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
                       2.1  การวางแผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้วางแผนการสอน โดยจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนคิด 4 ขั้นตอน โดยมีเป้าหมายที่การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) สาระการเรียนรู้ที่สำคัญ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (กิจกรรม สื่อและเวลา) โดยเลือกวิธี/เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเช่น Cooperative learning, PBL, Case based learning, Team based learning, Project based learning, Questioning, Concept mapping 4) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
                       2.2  การวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้วางแผนการสอนร่วมกับเพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการสอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชารวมทั้งผู้บริหาร ดังนี้ 1) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้นำเสนอร่างแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชารวมทั้งผู้บริหาร ให้ข้อเสนอแนะ 3) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์กระบวนการคิด กิจกรรมและการประเมินผลตามข้อเสนอแนะร่วมกับเพื่อนร่วมคิด จากนั้นเตรียมความพร้อมทั้งด้านผู้เรียน เช่น การจัดกลุ่มผู้เรียน การเตรียมความรู้ก่อนเรียน และใบงาน เป็นต้น และการเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
                   3. ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do and See)นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างไปปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยมีสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมสังเกตการณ์ผู้สอนบันทึกหลังการสอน ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยเพื่อนร่วมคิด และสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมสังเกตการณ์ และบันทึกจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาในประเด็นพฤติกรรมของผู้เรียนวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนทุกคนให้มีส่วนร่วม สภาพสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้บรรยากาศการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนการสอนในแบบบันทึกการสอนเพื่อเป็นข้อมูลในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน
                   4. ขั้นสะท้อนคิด (Reflect)เป็นขั้นที่สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับความสำเร็จ เช่นผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่จุดเด่น จุดอ่อนในเรื่องของกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพสิ่งงแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้จุดที่ต้องแก้ไข รวมทั้งแนะนำวิธีแก้ปัญหาโดยเริ่มการสะท้อนคิดจากผู้วางแผนหรือผู้สอน เพื่อนร่วมคิด (Buddy) และสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ
                   5. ขั้นปรับปรุงใหม่ (Redesign)ขั้นนี้ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมคิด พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดยนำผลจากการสะท้อนคิดจากการสอนร่วมกับข้อเสนอแนะของสมาชิกในชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อปรับแก้แผนการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ และนำไปดำเนินการสอนอีกครั้งโดยสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ดังแผนภาพที่ 1
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แผนภาพที่ ขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผลการวิจัย
                   จากผลการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งครูผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ได้ดังนี้
                   1. ด้านผู้สอน
                       1.1  เข้าใจบริบทของวิชาและมีจุดเน้นสำคัญในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นจากการได้ศึกษาวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET)การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมาร่วมกับทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
                       1.2  ช่วยลดความโดดเดี่ยวและเพิ่มความมั่นใจของครูผู้สอน ซึ่งจากเดิมที่ผู้สอนแต่ละคนคิดวางแผนการสอนเพียงคนเดียว เมื่อมีปัญหาต่างๆ ก็แก้ปัญหาเพียงผู้เดียวการปรึกษาหารือกันเพื่อพัฒนาการสอนยังมีน้อย เปลี่ยนมาเป็นการร่วมมือในการคิดและแก้ปัญหาด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
                       1.3  เพิ่มความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานให้บรรลุภารกิจ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน
                       1.4  การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้สอนมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองร่วมกับประสบการณ์ของสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ผู้สอนที่เป็นสมาชิกในทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ยังได้เห็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการเรียนการสอนของเพื่อนสมาชิก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในชั้นเรียนของตนเองได้
                       1.5  ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระยะเวลา เนื้อหา ผู้เรียน และสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการมีสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพช่วยให้ข้อเสนอแนะ ช่วยแก้ไขปัญหารวมถึงให้กำลังใจ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีจากทีมเพื่อนผู้สอนด้วยกัน
                   2. ด้านผู้เรียน
                       2.1  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เนื่องจากการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด และประยุกต์ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในการเรียนแบบเดิมพบว่าผู้เรียนในห้องเรียนที่มีการพัฒนาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนสอบที่สูงกว่าผู้เรียนในห้องเรียนในปีก่อนที่ผ่านมาที่เรียนโดยวิธีการแบบเดิมซึ่งเน้นการบรรยายเป็นหลัก
                       2.2  ผู้เรียนมีความสุขและสนุกในการเรียนมากขึ้นจากการสอบถามผู้เรียนส่วนใหญ่ พบว่า ชอบวิธีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์สถานการณ์จำลอง ด้วยการให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบร่วมกันกับเพื่อน และสุดท้ายครูผู้สอนมาเฉลยร่วมกันกับผู้เรียน มีแบบวัดความรู้และทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน และเฉลยคำตอบและขมวดความรู้ร่วมกันภายหลังการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดอ่อนของตนเอง และทราบว่าตนเองต้องแก้ไขตรงจุดใด การที่ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนจะทำให้ผู้เรียนตั้งใจและอยากเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
                            ผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจเป็นผลจากการที่ครูผู้สอนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดีต่อกัน และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ทำให้ผู้สอนได้เสนอปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกัน ส่งผลให้ครูผู้สอนมีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนา ดังนั้น จึงส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน
                   การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาดังนี้
                   1. การสนับสนุนของผู้บริหาร เนื่องจากการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนร่วมกันมีผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งในด้านเวลาการประชุมร่วมกันและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยเฉพาะผู้สอนมีขวัญกำลังใจและมีความกระตือรือร้นในการทำงาน เพราะการเข้าร่วมประชุมของผู้บริหารแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นและรวดเร็วมากขึ้น
                   2. การสื่อสารทางบวกของสมาชิก ในระยะปฏิบัติการสอนต้องมุ่งเน้นสังเกตชั้นเรียนเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้เรียน ไม่ใช่เพื่อประเมินผู้สอน และระยะสะท้อนผลเป็นการประชุมประเมินการสอนที่มุ่งเน้นการสื่อสารทางบวก โดยเน้นชี้จุดดีเพื่อสร้างกำลังใจ การตั้งคำถามและการสนับสนุนให้ผู้สอนตัดสินใจปรับปรุงการสอนได้ด้วยตนเองการสื่อสารทางบวกช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีและส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
                   3. การจัดการความรู้โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อช่วยจัดระบบความรู้ ความคิดและเกิดการขยายผลไปยังทีมผู้สอนคนอื่นๆ โดยเฉพาะการแบ่งปันเทคนิควิธีการสอนที่ดีให้สมาชิกในชุมชนและครูผู้สอนคนอื่นๆ ได้เรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การทำงานบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามการแบ่งปันจะสามารถเกิดได้ดีนั้นต้องอาศัยการมีผู้บริหารที่สนับสนุนการจัดบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการมีเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
 
 
 
 
 
 
บรรณานุกรม
 
 
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558).สรุปผลการวิจัย PISA2015.[ม.ป.พ.]
ณรงค์  ขุ้มทอง. (2560). PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย.สืบค้นจาก
               https://www.matichon.co.th/news/484184.
จุลลี่  ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัด
               เทศบาลนครขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐิกา  นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการเป็นชุมชน
               แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเลย เขต 1.
               วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ดลนภา  วงษ์ศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการสอน
               ของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญา
               ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิจารณ์  พานิช. (2555).วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
Chaichaowarat, R. (2015). Professional Learning Community: PLC. In BangonSerirat, 
               CharineeTriwaranyu&RewaneeChaichaowarat (Editor). 9 Ways to Create
               Teacher to Disciples. Retrieved from https://www.plc2learn.com/
               attachments/view/?attach_id=88075. (in Thai).
Dejakupt, P &Yindeesuk, P. (2017). 7C skill instructor 4.0. Bangkok: Chulalongkorn University.
               (in Thai)
Dejakupt, P &Yindeesuk, P. (2014). Instructional management in . Bangkok: Chulalongkorn
               University.(in Thai)
Panich, V. (2012). Learning Strategies for Learners in . Bangkok: Tathata.(in Thai)
Wongmeejong, C &Naipat, O. (2017). Competency of Thai teacher in Century: wind of 
               change.Journal of HRintelligence, 12(2), 47 - 62.(in Thai)
 
 


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 24/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนสร้างคนดีตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 18/มี.ค./2567
      การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเมืองพลพิทยาคมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 8/มี.ค./2567
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 11/ก.พ./2567