ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
นายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายก อบจ.ขอนแก่น

เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

เจ้าของผลงาน : นางพรรณี เถาว์ทิพย์
อังคาร ที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ.2566
เข้าชม : 511    จำนวนการดาวน์โหลด : 81 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคTAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย นางพรรณี เถาว์ทิพย์

ตำแหน่ง ครู

วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สังกัด โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ตำบลบ้านขาม อำเภอน้าพอง จังหวัดขอนแก่น

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

          การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญามีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 8 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54 , S.D.=0.65) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52 , S.D.=0.63) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.83 ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.58 ถึง 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.28ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

          1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.85/80.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 17.95 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 24.10 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52 , S.D.=0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านปัจจัยนาเข้ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55 , S.D.=0.62) ด้านผลผลิต มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54 , S.D.=0.61) ด้านกระบวนการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.50 , S.D.=0.61) ตามลำดับ สอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 2.3

          โดยสรุป การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ผลการวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาของการวิจัยที่ตั้งไว้ ซึ่งสรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเหมาะที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคม (Social Media) รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3/ก.ย./2566
      การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง รู้ทันโรคาทัศนาเมืองขอนแก่น ตามแนวคิด 5W1H ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 31/ส.ค./2566
      การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง High - Impact Practice : HIP เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา 27/ส.ค./2566
      การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 13/มิ.ย./2566
      การพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณรายวิชาภาษาไทยพื้นฐานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 13/มิ.ย./2566