โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานวิจัยการศึกษา
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 Development of learning management models in geography courses S32102 เจ้าของผลงาน : นางฐิตารีย์ ศรีพรหม
พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1120 จำนวนการดาวน์โหลด : 132 ครั้ง
บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม 2.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองเป็นกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 28 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาทดลอง 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการเรียนจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า 2AC-ONE-E-Model จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ ในระดับมากที่สุด ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Arouse interest: A) 2) ขั้นที่ 2) สำรวจความรู้ (The process of exploring knowledge :E) 3) ขั้นปรับความคิด (adjusting ideas, creating concepts :C) 4) ขั้นสร้างแนวคิดประยุกต์ใช้ (Applying, Reflecting :A) 5) ขั้นสะท้อน สรุปองค์ความรู้ด้วยการประเมินผล (Concluding knowledge with evaluation :C )
2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ ส32103 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถามอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : , ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน บูรณาการเทคนิคการใช้คำถาม, 2AC-ONE-E-Model
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ)
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป