[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม อบจ.ขอนแก่น
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
DLIT

STEM KKPAO

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม

เจ้าของผลงาน : นางเรณู นันททิพรักษ์
ศุกร์์ ที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 2910    จำนวนการดาวน์โหลด : 274 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 5 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง           รายงานการประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทาง
                   ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ผู้ประเมิน         นางเรณู  นันททิพรักษ์
หน่วยงาน        โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่ประเมิน       2563
 
บทคัดย่อ
          รายงานการประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทาง
 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) โดยใช้หลักการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) และประเมินด้านผลกระทบ (Impact) เพิ่มเติมเป็น (CIPPI Model)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2563  จำนวน 1,341 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน 103 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 จำนวน 317 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 จำนวน 302 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 จำนวน 317 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 จำนวน 302 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับฉลาก ใช้ตารางของเครจชีและมอร์แกน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 98 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  5 คน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ  จำนวน 18 คน นักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  20 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  20 คน และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไปศึกษาต่อ จำนวน  20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) โครงการมีความจำเป็นในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียน และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษามากที่สุด พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ และครู       มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
         2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม เกี่ยวกับ            1) คุณสมบัติผู้สอน 2) คุณสมบัติผู้เรียน 3) สื่อ วัสดุอุปกรณ์ บรรยากาศ สถานที่ จัดให้มีบุคลากร   ที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่จำเป็น และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินการโครงการ เป็นอย่างดี
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของครูและบุคลากรในโรงเรียน ดำเนินงานตามแผนของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการกำกับติดตามโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เกี่ยวกับ 1) การจัดการเรียนรู้ 2) การบริหารจัดการหลักสูตร 3) การวัดและประเมินผล มีความชัดเจน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ และนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินถือว่าผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
         4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้
บรรลุตามจุดหมายหลักสูตร พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ  มีความรู้ความเข้าใจด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสมรรถนะสำคัญ ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM) ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่สาม) ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพและการมีงานทำ ได้รับการพัฒนาด้านพหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลตามศักยภาพ มีอุปนิสัยพอเพียง และเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
         5. ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) โรงเรียนสามารถบริหารหลักสูตร งานวิชาการ และการนิเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้รับการพัฒนาให้บรรลุตามจุดหมายหลักสูตรมีอุปนิสัยพอเพียง  และได้รับการพัฒนาส่งเสริมความเป็นเลิศตามศักยภาพ ประสบผลสำเร็จในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สามารถสร้างอาชีพและมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไปศึกษาต่อ  ผู้ปกครองและนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนโนนหันวิทยายน 29/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน 29/มี.ค./2566
      การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 26/มี.ค./2566
      การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 21/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 29/ส.ค./2565


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ wiscn@live.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป