[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม อบจ.ขอนแก่น
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
เมนูหลัก
คลังเก็บรูปภาพ
ระบบสารสนเทศ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์)
โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
โรงเรียนแท่นศิลาทิพย์ศึกษา
โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
โรงเรียนซำสูงพิทยาคม
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์
โรงเรียนพูวัดพิทยาคม
โรงเรียนโคกสูงประชาสรรค์
โรงเรียนโนนหันวิทยายน
โรงเรียนสีชมพูศึกษา
โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร
โรงเรียนซับสมบูรณ์พิทยาลัย
โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์
โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์
โรงเรียนบ้านบะแค
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
เว็บไซด์โรงเรียนในสังกัด
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
DLIT

STEM KKPAO

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เจ้าของผลงาน : กุสลิน มูลกัน
จันทร์ ที่ 16 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 1044    จำนวนการดาวน์โหลด : 170 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความจำเป็น ปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมท             ซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัด การเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรับรองรูปแบบ
 
                ผลการวิจัย พบว่า
                1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมที่เน้นให้เกิดการคิด กระบวนการกลุ่มให้ระดมสมอง และจำเป็นต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ รวมทั้งวัดและประเมินผลตามสภาพจริงซึ่งผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่ควรปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด และภาพรวมของผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่ครูปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปานกลาง
                2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) เนื้อหา 2) ทรัพยากรการเรียนการสอน 3) ผู้เรียน 4) ผู้สอน และ 5) สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) กระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นปฐมนิเทศ ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน มีชื่อว่า BERAE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเชื่อมโยงเข้ากับความรู้เดิม (Bridge) 2) ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ (Exchange) 3) ขั้นการไตร่ตรองสะท้อนความคิด (Reflection) 4) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply) และ 5) ขั้นการแสดงให้เห็นผลงาน (Exhibit) และขั้นวัดและประเมินผล โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.42/82.59 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
                3. หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลปรากฏดังนี้
                      3.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
                      3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                      3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.55, S.D.=0.49)
            4. ผู้ทรงคุณวุฒิในการรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism Theory) ร่วมกับรูปแบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4MAT’S Learning System) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้
คำสำคัญ : การพัฒนา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
 



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนโนนหันวิทยายน 29/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนโนนหันวิทยายน 29/มี.ค./2566
      การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 26/มี.ค./2566
      การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 21/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับรูปแบบผังกราฟิกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง แก๊สและสมบัติของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 29/ส.ค./2565