โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานวิจัยการศึกษา
เรื่อง : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เจ้าของผลงาน : นางเพ็ญ บุญศรี
อังคาร ที่ 2 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 1080 จำนวนการดาวน์โหลด : 219 ครั้ง
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเพ็ญ บุญศรี
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหวายคำวิทยา จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และ t - test ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาในการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการตั้งคำถาม 2) ขั้นการวางแผน 3) ขั้นการสร้างองค์ความรู้ 4) ขั้นการสื่อสาร 5) ขั้นการสร้างสรรค์เพื่อส่วนรวม
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 82.02/80.71 พบว่า รูปแบบมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ)