ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
โปรแกรมดูผลการเรียนนักเรียนรายบุคคล |
|
|
|
|
|
|
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียดการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิช
เจ้าของผลงาน : นางสาวอรุณศรี ยิ่งยืน
พุธ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 2369 จำนวนการดาวน์โหลด : 385 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมบริบทรอบตัว และเป็นยุคที่ระบบการจัดการศึกษาต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ (Dejakupt&Yindeesuk, 2014) ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาเพราะครูผู้สอนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมที่จะออกไปสู่สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง หน้าที่ของครูผู้สอนในศตวรรษใหม่จะไม่ใช่เพียงการสอนหากแต่ต้องเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญครูผู้สอนควรออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนมากกว่าการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากภายในใจและสมองของตนเอง (Panich, 2012) ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งในด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของครูผู้สอนให้เป็นมืออาชีพ (Wongmeejong&Naipat, 2017) แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนโดยส่วนใหญ่มักเป็นการจัดอบรมระยะสั้นและเน้นเฉพาะสมรรถนะด้านความรู้ในการจัดการเรียนการสอน หลังจากนั้นจะให้ครูผู้สอนดำเนินปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนและดำเนินการสอนเองโดยลำพัง (Dejakupt&Yindeesuk, 2017) ซึ่งอาจทำให้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
การพัฒนาพัฒนาครูผู้สอนที่ประสบผลสำเร็จในหลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา วิชาชีพที่มุ่งให้ครู ผู้บริหาร นักการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือร่วมพลังกันพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในรูปแบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยสมาชิกในชุมชนวิชาชีพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และภารกิจการพัฒนาร่วมกัน สมาชิกรวมพลังเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ลงมือปฏิบัติบนฐานการทำงานจริงที่อิงพื้นที่การปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาในรูปแบบอื่นที่ได้จากนอกห้องเรียน ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจาการพัฒนาตามแบบ “ชุมชมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางบวกแก่ครู ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็น “คนคุณภาพ” ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และคุณภาพของประเทศในที่สุด นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่คนในสถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานต่างร่วมมือเรียนรู้ในการวิพากษ์วิจารณ์ ร่วมสะท้อนคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันมากขึ้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คุรุสภามีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพให้แก่เครือข่ายฯ ที่มีการรวมตัวกันทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ที่แท้จริงและต่อเนื่อง จะทำให้เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน การบริหาร และการปฏิรูปสถานศึกษาที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และความท้าทายตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้สำเร็จ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” จึงเป็นชุมชนการพัฒนาที่สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมตัวกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง แก่วิชาชีพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน รวมทั้งสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่สมาชิกให้สมกับความเป็น “ครูมืออาชีพ” อย่างแท้จริง
จากผลการประเมินการทดสอบนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) พบว่า ผลการประเมิน PISA ของประเทศไทยต่ำกว่ามาตรฐาน และมีแนวโน้มลดลง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2558) นอกจากนี้ยังพบปัญหาครูขากเทคนิควิธีสอนและทักษะด้านเทคโนโลยี การพัฒนาด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์และรู้จักตั้งคำถาม จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ผลักดันหลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนำมาพัฒนาครู ใช้เครือข่ายในสถานศึกษาและชุมชน เรียนรู้ด้วยตนเองและจากเพื่อนครู นำไปสู่การร่วมกันประเมินและแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ จะเป็น เครื่องมือในการพัฒนาครูได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การพัฒนาครูต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้เรียน (ณรงค์ ขุ้มทอง, 2560)
จากการศึกษางานวิจัยของ ณัฐิกา นครสูงเนิน (2556) ดลนภา ดลศิริ (2556) ศยามน อินสะอาด(2556) ) และจุลลี่ ศรีษะโคตร (2557) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา พบว่า การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและการสนับสนุนของเขต ด้านบรรยากาศขององค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านโครงสร้างสถานศึกษา ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหาร ด้านพันธกิจและวิสัยทัศน์ ด้านการจูงใจ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านประสิทธิภาพการสอนของครู เป็นต้น ซึ่งการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น นั่นคือ ประสิทธิภาพการสอนของครู แต่จากการวิเคราะห์ผลคะแนนทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2560 - 2562 ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า มีผลการทดสอบต่ำลง ถึงแม้ว่าจะมีบางรายวิชาที่มีพัฒนาการดีขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านประสิทธิภาพการสอนของครู ดังนั้นหากสถานศึกษาสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูได้ จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด
คำถามในการวิจัย
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียดมีลักษณะและผลการพัฒนาอย่างไร
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้นำแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและนำกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เนื่องจากการดำเนินการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ปฏิบัติจริงในบริบทของแต่ละชั้นเรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ความรู้สามารถเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นร่วมใจที่จะปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกัน โดยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นวางแผนขั้นลงมือปฏิบัติและสังเกตผลการปฏิบัติ ขั้นสะท้อนผล และขั้นตอนการปรับปรุงใหม่ (Phuangsomjit, 2017; Dejakupt&Yindeesuk, 2017) นอกจากนี้ยังนำกระบวนการจัดการความรู้ มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาบทเรียนต่างกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะประสบการณ์ในการดำเนินการตามกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน เช่น การวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET)การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยมีแนวทางดังนี้
1.1 การเลือกหัวข้อในการทำแผนการเรียนรู้ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเลือกเรื่องที่ยากหรือเป็นเรื่องที่สำคัญของรายวิชา เพื่อสมาชิกทีมของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จะได้ร่วมมือร่วมแรงกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน
1.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในทุกด้านและเน้นปัญหาการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมคิด และสมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1.3 ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยนำผลการประเมินจากผู้เรียน/ผู้สอนในปีการศึกษาที่ผ่านมาที่มีรายละเอียดในหัวข้อที่จะร่วมพัฒนาด้วยกันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ ในหัวข้อที่มีปัญหาหรือต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะประเมินหลังการสอนในหัวข้อนั้นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเรียนรู้จากทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน เพื่อวางแผนการปรับปรุงการสอนในครั้งต่อไป
2. ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)เป็นขั้นที่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยสมาชิกทีม อย่างน้อย 5คน ได้แก่ ผู้วางแผนการสอน เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหาร ร่วมกันวางแผนและให้การชี้แนะและให้คำปรึกษาในการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผนเรื่องการจัดการเรียน เช่น การจัดโต๊ะเรียนแบบกลุ่ม เรียนร่วมมือร่วมพลัง และการเตรียมสื่อการเรียนรู้ส่วนผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพโดยการอำนวยการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้ครบทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
2.1 การวางแผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้วางแผนการสอน โดยจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนคิด 4 ขั้นตอน โดยมีเป้าหมายที่การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) สาระการเรียนรู้ที่สำคัญ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (กิจกรรม สื่อและเวลา) โดยเลือกวิธี/เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเช่น Cooperative learning, PBL, Case based learning, Team based learning, Project based learning, Questioning, Concept mapping 4) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
2.2 การวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้วางแผนการสอนร่วมกับเพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการสอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชารวมทั้งผู้บริหาร ดังนี้ 1) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้นำเสนอร่างแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชารวมทั้งผู้บริหาร ให้ข้อเสนอแนะ 3) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์กระบวนการคิด กิจกรรมและการประเมินผลตามข้อเสนอแนะร่วมกับเพื่อนร่วมคิด จากนั้นเตรียมความพร้อมทั้งด้านผู้เรียน เช่น การจัดกลุ่มผู้เรียน การเตรียมความรู้ก่อนเรียน และใบงาน เป็นต้น และการเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3. ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do and See)นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างไปปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยมีสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมสังเกตการณ์ผู้สอนบันทึกหลังการสอน ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยเพื่อนร่วมคิด และสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมสังเกตการณ์ และบันทึกจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาในประเด็นพฤติกรรมของผู้เรียนวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนทุกคนให้มีส่วนร่วม สภาพสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้บรรยากาศการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนการสอนในแบบบันทึกการสอนเพื่อเป็นข้อมูลในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน
4. ขั้นสะท้อนคิด (Reflect)เป็นขั้นที่สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับความสำเร็จ เช่นผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่จุดเด่น จุดอ่อนในเรื่องของกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพสิ่งงแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้จุดที่ต้องแก้ไข รวมทั้งแนะนำวิธีแก้ปัญหาโดยเริ่มการสะท้อนคิดจากผู้วางแผนหรือผู้สอน เพื่อนร่วมคิด (Buddy) และสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ
5. ขั้นปรับปรุงใหม่ (Redesign)ขั้นนี้ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมคิด พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดยนำผลจากการสะท้อนคิดจากการสอนร่วมกับข้อเสนอแนะของสมาชิกในชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อปรับแก้แผนการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ และนำไปดำเนินการสอนอีกครั้งโดยสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ดังแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผลการวิจัย
จากผลการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งครูผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ได้ดังนี้
1. ด้านผู้สอน
1.1 เข้าใจบริบทของวิชาและมีจุดเน้นสำคัญในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นจากการได้ศึกษาวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET)การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมาร่วมกับทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1.2 ช่วยลดความโดดเดี่ยวและเพิ่มความมั่นใจของครูผู้สอน ซึ่งจากเดิมที่ผู้สอนแต่ละคนคิดวางแผนการสอนเพียงคนเดียว เมื่อมีปัญหาต่างๆ ก็แก้ปัญหาเพียงผู้เดียวการปรึกษาหารือกันเพื่อพัฒนาการสอนยังมีน้อย เปลี่ยนมาเป็นการร่วมมือในการคิดและแก้ปัญหาด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.3 เพิ่มความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานให้บรรลุภารกิจ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน
1.4 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้สอนมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองร่วมกับประสบการณ์ของสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ผู้สอนที่เป็นสมาชิกในทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ยังได้เห็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการเรียนการสอนของเพื่อนสมาชิก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในชั้นเรียนของตนเองได้
1.5 ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระยะเวลา เนื้อหา ผู้เรียน และสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการมีสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพช่วยให้ข้อเสนอแนะ ช่วยแก้ไขปัญหารวมถึงให้กำลังใจ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีจากทีมเพื่อนผู้สอนด้วยกัน
2. ด้านผู้เรียน
2.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เนื่องจากการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด และประยุกต์ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในการเรียนแบบเดิมพบว่าผู้เรียนในห้องเรียนที่มีการพัฒนาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนสอบที่สูงกว่าผู้เรียนในห้องเรียนในปีก่อนที่ผ่านมาที่เรียนโดยวิธีการแบบเดิมซึ่งเน้นการบรรยายเป็นหลัก
2.2 ผู้เรียนมีความสุขและสนุกในการเรียนมากขึ้นจากการสอบถามผู้เรียนส่วนใหญ่ พบว่า ชอบวิธีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์สถานการณ์จำลอง ด้วยการให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบร่วมกันกับเพื่อน และสุดท้ายครูผู้สอนมาเฉลยร่วมกันกับผู้เรียน มีแบบวัดความรู้และทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน และเฉลยคำตอบและขมวดความรู้ร่วมกันภายหลังการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดอ่อนของตนเอง และทราบว่าตนเองต้องแก้ไขตรงจุดใด การที่ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนจะทำให้ผู้เรียนตั้งใจและอยากเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจเป็นผลจากการที่ครูผู้สอนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดีต่อกัน และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ทำให้ผู้สอนได้เสนอปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกัน ส่งผลให้ครูผู้สอนมีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนา ดังนั้น จึงส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน
การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหาร เนื่องจากการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนร่วมกันมีผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งในด้านเวลาการประชุมร่วมกันและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยเฉพาะผู้สอนมีขวัญกำลังใจและมีความกระตือรือร้นในการทำงาน เพราะการเข้าร่วมประชุมของผู้บริหารแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นและรวดเร็วมากขึ้น
2. การสื่อสารทางบวกของสมาชิก ในระยะปฏิบัติการสอนต้องมุ่งเน้นสังเกตชั้นเรียนเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้เรียน ไม่ใช่เพื่อประเมินผู้สอน และระยะสะท้อนผลเป็นการประชุมประเมินการสอนที่มุ่งเน้นการสื่อสารทางบวก โดยเน้นชี้จุดดีเพื่อสร้างกำลังใจ การตั้งคำถามและการสนับสนุนให้ผู้สอนตัดสินใจปรับปรุงการสอนได้ด้วยตนเองการสื่อสารทางบวกช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีและส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดการความรู้โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อช่วยจัดระบบความรู้ ความคิดและเกิดการขยายผลไปยังทีมผู้สอนคนอื่นๆ โดยเฉพาะการแบ่งปันเทคนิควิธีการสอนที่ดีให้สมาชิกในชุมชนและครูผู้สอนคนอื่นๆ ได้เรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การทำงานบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามการแบ่งปันจะสามารถเกิดได้ดีนั้นต้องอาศัยการมีผู้บริหารที่สนับสนุนการจัดบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการมีเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558).สรุปผลการวิจัย PISA2015.[ม.ป.พ.]
ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560). PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย.สืบค้นจาก
https://www.matichon.co.th/news/484184.
จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัด
เทศบาลนครขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการเป็นชุมชน
แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเลย เขต 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ดลนภา วงษ์ศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการสอน
ของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิจารณ์ พานิช. (2555).วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
Chaichaowarat, R. (2015). Professional Learning Community: PLC. In BangonSerirat,
CharineeTriwaranyu&RewaneeChaichaowarat (Editor). 9 Ways to Create
Teacher to Disciples. Retrieved from https://www.plc2learn.com/
attachments/view/?attach_id=88075. (in Thai).
Dejakupt, P &Yindeesuk, P. (2017). 7C skill instructor 4.0. Bangkok: Chulalongkorn University.
(in Thai)
Dejakupt, P &Yindeesuk, P. (2014). Instructional management in . Bangkok: Chulalongkorn
University.(in Thai)
Panich, V. (2012). Learning Strategies for Learners in . Bangkok: Tathata.(in Thai)
Wongmeejong, C &Naipat, O. (2017). Competency of Thai teacher in Century: wind of
change.Journal of HRintelligence, 12(2), 47 - 62.(in Thai)
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|